(ต่อ) อาชีพที่เกิดขึ้นได้กับวงการ E-SPORTS


(ต่อ) อาชีพที่เกิดขึ้นได้กับวงการ E-SPORTS 


ทีม Fnatic LoL

5. Team Organizer : สังกัดทีม E-Sports – เรียกได้ว่า การจะมีผู้เล่นเจ๋งๆ มาแข่งขันให้เราได้ดู ก็ต้องมีสังกัดที่ยอดเยี่ยม ที่คอยดูแลผู้เล่นเหล่านั้นให้มีรายได้และการจัดการต่างๆ ในชีวิต “สังกัด” หรือจะเรียกว่า “ทีม” ก็ได้ อาจจะก่อตั้งมาแบบตั้งใจให้เป็นสังกัดแต่แรก หรือแม้กระทั่งบางทีมที่ก่อตัวเกิดขึ้นเป็นสังกัดจากการทำทีมแข่งขันจนได้รับความสำเร็จ ก็ตั้งตัวเป็นบริษัทหรือสังกัดต่อมาได้เช่นกัน อย่างเช่น NAVI Gaming ที่เกิดจากทีม CS 1.6 แข่งจนได้แชมป์ใหญ่ประจำปี และเป็นที่รู้จักทั่วโลกในวงการ CS เลยก็ว่าได้ ทำให้หัวหน้าทีมของเค้า คิดก่อตั้งให้ชื่อ NAVI หรือ Natus Vincere นั้นเป็นสังกัดใหญ่ขึ้นมาอย่างจริงจัง โดยมี DOTA 2 , PUBG และ FIFA 18 ต่อมานั่นเอง

หน้าที่ของ สังกัด คือ การหาผู้เล่นเข้ามาผสมรวมเป็นทีม และดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาซ้อม เวลาแข่งขัน การจัดการคิวต่างๆ ให้กับผู้เล่น และที่สำคัญคือ ให้สิ่งตอบแทนผู้เล่น ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน หรือ ค่าดูแลต่างๆ จะต้องเป็นทางสังกัดที่จัดการให้ทั้งหมด เพื่อให้ผู้เล่นเดินทางสู่ความสำเร็จในการแข่งขัน และแน่นอนว่าในสังกัดต่างๆ นั้นก็จะมีทีมงานแบ่งแยกดูแลกันอีกด้วย

6. Team Manager : ผู้จัดการทีม – ตำแหน่งนี้จะสามารถเป็นได้ทั้ง เจ้าของสังกัดเอง หรือ แยกตัวออกมาเป็นผู้จัดการก็ได้ การที่มีตำแหน่งแยกออกมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นทีมที่มีเงินทุนหนา มีระบบการจัดการอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้จัดการทีมนั้นจะคอยดูแลภาพรวมของทีม จัดการตารางซ้อม ตารางพักผ่อน ออกกำลังกาย และการเลือกทัวร์นาเม้นให้กับทีมเข้าไปลงแข่งขัน คอยดูแลความเรียบร้อย และปัญหาที่เกิดขึ้นภายในทีม แน่นอนว่าการรวมตัวกันเป็นทีมนั้น ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิดซักเท่าไร เพราะต่างคนต่างความคิด มาอยู่ด้วยกัน ย่อมมีปัญหากันบ้าง จุดนี้ผู้จัดการทีมเป็นคนที่ต้องดูแลทั้งหมด

เคยได้ยินมาว่า ทีมงานของ Edward Gaming นั้นมีมากถึง 20 กว่าคน ไม่รวมผู้เล่น มาช่วยคิดวิเคราะห์การแข่ง LoL

7. Head coach & Analyser : โค้ช และนักวิเคราะห์ – ผู้จัดการ กับ โค้ช และนักวิเคราะห์นั้น แยกกัน บางคนจะเหมารวมว่า ผู้จัดการ ก็คือ โค้ช ซึ่งถ้าทีมไหน ใช้คน ๆ คนเดียวกันก็อาจจะได้ แต่จริงๆ แล้ว หน้าที่มันต่างกันมากนะ โค้ช เกิดขึ้นมาเพื่อการดูแลและวิเคราะห์ระบบทีม ดูตั้งแต่การซ้อมของทีมตัวเอง จนถึงการแข่งขันจริง ว่าต้องมีการวางแผนยังไง ตัดสินใจอย่างไร ช่วยคิดแผน และรูปแบบการเล่นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบทีมที่เป็นอยู่ รวมถึงยังต้องดูการเล่นของทีมคู่แข่งอย่างไม่ขาดสายอีกด้วย ผมมัดรวมนักวิเคราะห์ไว้ในที่นี้ เพราะอาจจะรวมหรือแยกไว้ในคน ๆ เดียวกันได้เช่นกันครับ โดยนักวิเคราะห์อาจจะทำงานแยกเฉพาะทาง ไม่ว่าจะวิเคราะห์การเล่นระหว่างแมตช์การแข่งขันของทีม จนถึงการช่วยเหลือในด้านการคิดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ และรวมถึงวิเคราะห์การเล่นทีมคู่แข่งด้วยนั่นเอง “รู้เค้ารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ดั่งคำเค้าว่าเลยนั่นเอง เรียกได้ว่า โค้ช และนักวิเคราะห์นั้นทำงานกันเหนื่อยไม่แพ้ผู้เล่นเลยแหละ


8. E-Sports Stadium : เจ้าของสถานที่จัดงานแข่งขัน – เรื่องสถานที่จัดการแข่งขันนั้น ถ้าเน้นให้เป็น E-SPORTS จริงๆ มันไม่ใช่ร้านเกมนะ แต่มันต้องเป็นสถานที่แข่งขัน E-Sports จริงๆ มีเวที มีโซนที่นั่งคนดู มีระบบคอมพิวเตอร์ที่พร้อม อินเตอร์เน็ตที่แรง พร้อมใช้ในการถ่ายทอดสดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ในบ้านเราก็มีเกิดขึ้น 2-3 เจ้าที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น Panthip E-Sports Stadium , ARENA+ FPSThailand Stadium และล่าสุดที่เกิดขึ้นกลางใจเมือง The Street อย่าง Thailand E-Sports ARENA นั่นเอง และสถานที่เหล่านี้ ก็มีขึ้นสำหรับรับการจัดงานแข่งขันในแต่ละระดับที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติด้วยนั่นเองครับ สามารถปล่อยเช่าพื้นที่จัดแข่ง , เปิดตัวสินค้า , เปิดตัวเกม ต่างๆ ได้อย่างลงตัว

Comments